ตราสัญลักษณ์

อักษรย่อ  ส.ธ.ว.

รังสี   หมายถึง  ประกายแห่งความปราดเปรื่อง ความเจริญรุ่งเรือง ดังรังสีจากดวงประทีปที่ส่องนำทางไปจุดหมายได้อย่างถูกต้อง เป็นคนที่มีประสิทธิภาพสูงและมุ่งมั่น ไม่ย่อท้อ

องค์เจดีย์  หมายถึง องค์พระปฐมเจดีย์ของจังหวัดนครปฐมเป็นเจดีย์องค์แรกในสุวรรณภูมิใหญ่ที่สุดในประเทศไทยช่วยส่งเสริมให้ชีวิตความเป็นอยู่
 ฐานะ ตำแหน่ง หน้าที่การงานสูงส่งดังยอดสูงระฟ้าขององค์พระปฐมเจดีย์
องค์พระปฐมเจดีย์มี ๓ ชั้น โดยชั้นแรกหมายถึง ชาติ ชั้นที่ ๒ หมายถึง ศาสนา ชั้นที่ ๓ หมายถึง พระมหากษัตริย์

*ใต้ฐานชั้นแรก มีวงรีรูปไข่ เปรียบประดุจหลังคาให้ความร่มเย็นคอยคุ้มกันอันตรายทั้งปวงให้แก่ทุกคน ที่เกี่ยวข้อง

*เรือลำน้อยที่เป็นฐานของ สธว แล่นไปในนาวาร่มเย็นเป็นสุข

*อักษรย่อ สธว ย่อมาจาก สุคนธีรวิทย์ แปลว่า นักปราชญ์ ผู้มีความงาม ความดี และความรอบรู้ด้านวิชาการ

สีประจำโรงเรียน
     สีเหลือง และสีม่วง

สีเหลือง
     หมายถึง  สีประจำวันเฉลิมพระชนมพรรษาขององค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพล
อดุลยเดชมหาราช เพื่อเป็นการเทิดทูนองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช

สีม่วง
     หมายถึง สีประจำวันเฉลิมพระชนมพรรษาของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารีเพื่อเป็นการเทิดทูนองค์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี

ต้นไม้ประจำโรงเรียน
     ต้นราชพฤกษ์ (ต้นคูน)

คติพจน์       
     ทนฺโต เสฎฺโฐ มนุสฺเสสุ  หมายถึง  คนที่ฝึกตนดีแล้วเป็นผู้ประเสริฐในหมู่มนุษย์

ปรัชญา
     คุณธรรมนำวิชาการ สืบสานวัฒนธรรม  น้อมนำพอเพียง

เอกลักษณ์
     วิชาการเด่น  เน้นคุณภาพผู้เรียน

อัตลักษณ์
     ลูกสุคน เป็นคนดี

วิสัยทัศน์
     โรงเรียนสุคนธีรวิทย์  มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาและทักษะที่จำเป็นแห่งศตวรรษที่ 21 เป็นคนดี มีพลานามัย บริหารจัดการศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพภายใต้การมีส่วนร่วมครูเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ  น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษา

หลวงพ่อวัดไร่ขิง  เป็นพระประธานในพระอุโบสถวัดไร่ขิง อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม อนุโลมตามชื่อวัดตามตำนานกล่าวว่าหลวงพ่อทำด้วยเนื้อสัมฤทธิ์ ประทับนั่งปางมารวิชัยหรือปางชนะมารแบบประยุกต์ หลวงพ่อวัดไร่ขิง มีลักษณะผึ่งผายคล้ายเชียงแสน  พระหัตถ์เรียวงามตามแบบสุโขทัย  แต่พระพักตร์ดูคล้ายรัตน์โกสินทร์ ประดิษฐานเหนือฐานชุกชี  มีขนาดกว้าง 4 ศอก  2 นิ้ว  สูง 4 ศอก 16 นิ้ว

แหล่งการเรียนรู้ในโรงเรียน

สนามเด็กเล่น  สนามฟุตบอล  สนามฟุตซอล  สนามบาสเกตบอล  สนามวอลเลย์บอล ประกอบด้วย

1) ห้องนิทรรศการเทิดพระเกียรติ  2) รีไซเคิล  (Recycle) 3) พืชสมุนไพรฐาน 4) อินทรีย์ชีวภาพ  5) ไม้ดอกไม้ประดับ 6) พืชผักและแปรรูปอาหาร 7) เกษตรทฤษฎีใหม่  8) เลี้ยงไก่เลี้ยงปลา 9) โรงเพาะเห็ด 10) โรงเรือนปลูกเมล่อนสลับกับผักสวนครัว และสวนเกษตรของเศรษฐกิจพอเพียงมุ่งสู่ “สถานศึกษาพอเพียง”

 

 

 

โครงสร้างการบริหาร

      โรงเรียนสุคนธีรวิทย์  แบ่งโครงสร้างการบริหารงานเป็น 4 ด้าน ได้แก่ ด้านบริหารงานวิชาการ ด้านบริหารงานงบประมาณ ด้านบริหารงานกิจการนักเรียนและด้านบริหารงานทั่วไป ผู้บริหารยึดหลักการบริหารแบบธรรมาภิบาล  Good  Governance  เทคนิคการบริหารใช้ทฤษฎีหลักการบริหารงานแบบใช้โรงเรียนเป็นฐาน(School  based   management)  การบริหารงานแบบการมีส่วนร่วมและกระจายอำนาจในการบริหาร  โดยใช้กระบวนการพัฒนาการบริหารจัดการศึกษาตามกระบวนการ  PDCA

 โรงเรียนสุคนธีรวิทย์  ได้นำแนวคิดทางการบริหารและการจัดการศึกษาที่มุ่งให้สถานศึกษา เป็นองค์กรหลักในการจัดการศึกษาอย่างมีคุณภาพ ( Efficiency  &  Effectiveness  School ) ภายใต้กรอบของกฎหมายที่กำหนด   โดยมีการกระจายอำนาจการตัดสินใจที่จะพัฒนานโยบาย   วิสัยทัศน์  พันธกิจ และเป้าประสงค์ของสถานศึกษาและร่วมมือดำเนินการ ทั้งด้านวิชาการ งบประมาณ บุคลากรและบริหารทั่วไป  โดยบุคคลที่มีส่วนได้ส่วนเสียอย่างเท่าเทียมกัน โดยมุ่งเน้นผลผลิต ผลลัพธ์และผลกระทบที่เกิดกับผู้เรียนเป็นสำคัญ  ภายใต้การมีส่วนร่วมและการตรวจสอบของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542และแก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่  2) พ.ศ. 2545 หมวด 5  มาตรา 39 และมาตรา 40    กระทรวงได้กระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษาให้โรงเรียนทั้งในด้านวิชาการ  งบประมาณ การบริหารบุคคล และการบริหารทั่วไป โดยมีคณะกรรมการสถานศึกษาเป็นองค์คณะบุคคลทำหน้าที่  ในการบริหารโดยทำให้โรงเรียนเป็นฐานหรือศูนย์กลางของการบริหารและจัดการศึกษาที่ต่อเนื่องและยั่งยืนที่จะสร้างคุณค่า   ความรับผิดชอบ   ความผูกพัน   ต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทุกคน นัยสำคัญของการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว คือ การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน(School – Based Management) ซึ่งผู้บริหารโรงเรียนจะมีบทบาทสำคัญ ในกระบวนการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษา ครู -อาจารย์ นักเรียนและผู้ปกครอง ชุมชน ในการตัดสินใจบริหารและจัดการศึกษาของโรงเรียนไปสู่ทิศทางเป้าหมายที่ต้องการ คือ วิชาการเด่น เน้นคุณภาพผู้เรียน